ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล PA ( Personal Accident ) ช่วยคุ้มครองคุณจากภัยที่ไม่คาดคิด !

ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล PA คืออะไร
ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล PA ( Personal Accident ) ก็คือประกันวินาศภัยที่ให้ความคุ้มครองในกรณีเกิดอุบัติเหตุส่วนบุคคลสำหรับ ค่ารักษาพยาบาล ในกรณีการเกิดอุบัติเหตุแล้วได้รับบาดเจ็บทางร่ายกายไม่ว่าจะเล็กน้อย ทุกพพลภาพสูญเสียอวัยวะ จนถึงเสียชีวิต โดยบริษัทประกันจะจ่ายค่าสินไหมเป็นการตอบแทน
เลือกหัวข้อประกันอุบัติเหตุส่วนบคคล
- ทำไมถึงต้องทำประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล pa
- รูปแบบการทำประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลมีอะไรบ้าง
- ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล pa คุ้มครองอะไรบ้าง
- เบี้ยประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล pa ถูก-แพง ขึ้นอยู่กับอะไร
ประกันอุบัติส่วนบุคคล PA สำคัญไหม
ทุกย่างเก้าของการใช้ชีวิตเต็มไปด้วยความเสี่ยงที่เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าจะเกิดขึ้นตอนไหน โดยเฉพาะกับคนที่ชอบเดินทางบ่อย ๆ หรือผู้ที่ต้องเดินทางไปทำงานกลับบ้านเป็นประจำผ่านการโดยสารรถจักรยานยนต์ รถยนต์ ที่จะเสี่ยงมากหน่อย นอกจากนั้นยังมีอาชีพที่มีความเสี่ยงสูงอย่าง เจ้าหน้าที่ช่างต่าง ๆ
ดังนั้นการมีประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลติดตัวเอาไว้จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เราสามารถใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุเล็กหรือใหญ่ หากใครสงสัยว่าเจ้าอุบัติเหตุเล็กหรือใหญ่ในที่นี้หมายถึงอะไรก็ลองดูประเภทและความคุ้มครองของประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลในหัวข้อถัดไปได้เลยครับ
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจทำประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลก็สามารถ ซื้อ เปรียบเทียบราคาประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลได้ที่นี้ ผ่านช่องทางออนไลน์
หัวข้อบทความที่เกี่ยวข้อง
ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล PA มีกี่แบบ
ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล pa แบ่งออกได้เป็น 2 แผน ใหญ่ ๆ นั้นคือ อบ. 1 และ อบ. 2 ซึ่ง อบ. 1 คือประกันอุบัติส่วยบุคคลทั่วไปจะมีความคุ้มครองน้อยกว่า อบ. 2 ที่เป็นประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลที่มีความคุ้มครองสูง ทั้ง 2 แผนความคุ้มครองสามารถแบ่งความคุ้มครองได้ดังนี้
ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล PA คุ้มครองอะไรบ้าง
ประกันอุบัติส่วนบุคคลทั่วไป อบ.1 เป็นประกันที่คุ้มครองในกรณีการเกิดอุบัติเหตุที่ทำให้ เกิดการบาดเจ็บ สูญเสียอวัยวะ จนถึงเสียชีวิต ที่ต้องทำให้ผู้ทำประกันเข้ารับการรักษาพยาบาลหรือเสียชีวิต โดยข้อมูลจาก คปภ เกี่ยวกับความคุ้มครองประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลนั้นมีดังนี้
- การเสียชีวิต ค่าปลงศพ ค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพ
- สูญเสียอวัยวะ/สายตา การทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง
- การทุพพลภาพชั่วคราวสิ้นเชิง
- การทุพพลภาพชั่วคราวบางส่วน
- การรักษาพยาบาล การชดเชยรายได้
เบี้ยประกันสำหรับประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล อบ. 1 นั้นถูกมากอยู่ที่ 1,000 ถึง 2,000 บาทต่อปีเท่านั้นเอง
สำหรับ ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล อบ. 2 จะเพิ่มความคุ้มครองในส่วนของ การสูญเสียนิ้ว การสูญเสียการรับฟังเสียง การพูดออกเสียง และการทุพพลภาพบางส่วน โดย ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล pa อบ. 2 นั้นจะมีค่าเบี้ยประกันเพิ่มขึ้นจาก อบ. 1 นิดหน่อย
นอกจากความคุ้มครองประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลที่ผมได้พูดถึงไปเราสามารถที่จะเพิ่มเติมความคุ้มครองของประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลได้ด้วย เช่น
- ความคุ้มครองการขับขี่รถจักรยานยนต์หรือโดยสารรถจักรยานยนต์
- ความคุ้มครองที่เกิดจากการจลาจล การนัดหยุดงาน
- คุ้มครองอุบัติเหตุที่เกิดจากสงคราม
- คุ้มครองอุบัติเหตุที่เกิดจากการโดยสารอากาศยานที่มิได้ประกอบการโดยสายการบินพาณิชย์
- อุบัติเหตุจากการเล่นกีฬา
นอกจากความคุ้มครองในส่วนนี้ที่เรากล่าวถึงแล้วอย่าลืมดูส่วนที่เป็นข้อกำหนดของประกันอุบัติเหตุส่วนบุคล pa ด้วยนะว่ามีส่วนไหนที่เขาไม่คุ้มครองบ้าง
- เกิดอุบัติเหตุจากการเมาสุราหรือยาเสพติด
- การฆ่าตัวตาย พยายามฆ่าตัวตาย หรือทำร้ายร่างกายตนเอง
- การแท้งลูก
- การแผ่รังสีหรือกัมมันตภาพรังสีจากเชื้องเพลิงนิวเคียร์ หรือ อาวุธนิวเคลียร์
- การเล่นหรือแข่งกีฬาอันตราย เช่น ดำน้ำ บันจี้จั๊มพ์ เล่นสกี แข่งรถ แข่งเรือ แข่งสเก็ต รวมถึงกีฬาอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดอันตรายได้ทั้งนี้ต้องลองสอบถามกับพนักงานประกันเพื่อให้ความรู้เพิ่มเติมอีกที
- เหตุที่เกิดจากการทะเลาะวิวาท ก่ออาญากรรม หลบหนีการจับกุม
- ในกรณีเข้าปราบปรามผู้ร้ายหรือปฏิบัติหน้าที่ในสงคราม ถ้าผู้เอาประกันภัยเป็นตำรวจ ทหาร หรืออาสาสมัคร
ยกเว้นแต่สามารถขอความคุ้มครองเพิ่มเติมได้
- อุบัติเหตุที่เกิดจากการโดยสารอยู่บนเครื่องบินที่ไม่ใช่สายการบินพาณิชย์
- ขณะขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์แล้วเกิดอุบัติเหตุ
- การจลาจล การนัดหยุดงาน การที่ประชาชนก่อความวุ่นวายประท้วง
- อุบัติเหตุที่เกิดจากภาวะสงคราม การปฏิวัติ การกบฏ
ความคุ้มครองประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล pa ส่วนใหญ่แล้วก็จะมีความคุ้มครองที่คล้ายกันแต่ละบริษัทประกัน ส่วนที่จะแตกต่างกันก็คือ เบี้ยประกัน ความคุ้มครองเพิ่มเติม โปรโมชั่น ที่จะต้องหาข้อมูลและตัดสินใจให้ดีว่าจะทำประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลที่ไหนดี ที่จะตอบโจทย์ความต้องการของตัวเราได้มากที่สุด เอาเป็นลองมาดูสาเหตุที่ทำให้เบี้ยประกันนั้นแตกต่างกันดูดีกว่าครับเป็นหัวข้อสุดท้ายที่เราจะพูดเกี่ยวกับ ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล PA
เบี้ยประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล PA ถูก-แพง คิดจากอะไรบ้าง
ปัจจัยที่ทำให้เบี้ยประกันราคาแพงหรือถูกนั้นอยู่ที่หลากหลายปัจจัยดังนี้
- อาชีพ
การแบ่งตามอาชีพเราสามารถกำหนดได้เป็น 4 ชั้น ได้แก่ฃ
อาชีพชั้น 1 เป็นบุคคลที่อาชีพนั่งโต๊ะ ประจำสำนักงาน
อาชีพชั้น 2 เป็นอาชีพที่ปฏิบัติงานตามวิชาชีพที่ต้องทำงานกลางแจ้งตลอดเวลา
อาชีพชั้น 3 อาชีพที่ปฏิบัติงานด้านช่าง เช่น การผลิต การทำงานกับเครื่องจักรกล การทำงานภายในโรงงาน การเดินทาง การทำงานนอกสำนักงานเป็นประจำ
อาชีพที่ 4 อาชีพพิเศษที่มีความเสี่ยงสูงมากกว่าอาชีพอื่น ๆ เช่น นักแสดงผาดโผน นักกายกรรม
- อายุ
หากเป็นบุคคลที่มีอายุมากกว่า 60 ปี เบี้ยประกันภัยจะสูงกว่าคนอายุต่ำกว่า 60 ปี
- การกำหนดค่าเสียหายส่วนแรก
ถ้ากำหนดค่าเสียหายส่วนแรกในการทำประกันอุบัติเหตุจะสามารถทำให้เบี้ยประกันภัยต่ำลงได้ขึ้นอยู่กับจะเลือกในกรณีไหน เช่น กรณีรักษาพบาบาล กรณีทุพพลภาพ
- ความคุ้มครองที่เลือกซื้อ
ในกรณีที่เราอยากได้ความคุ้มครองเฉพาะการทุพพลภาพถาวรก็สามารถทำเฉพาะได้แล้วไม่เอาความคุ้มครองในส่วนของค่ารักษาพยาบาล
- ความคุ้มครองเพิ่มเติม
จากที่ผมได้พูดถึงความคุ้มครองที่เราสามารถซื้อเพิ่มเติมได้ ในส่วนนี้ยิ่งถ้าเราซื้อความคุ้มครองเยอะก็จะยิ่งทำให้ค่าเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นมากกว่าเดิม ดังนั้นเลือกเฉพาะความคุ้มครองที่สำคัญและเรามีความเสี่ยง
- จำนวนเงินเอาประกันภัย
วงเงินเอาประกันภัยยิ่งสูงเราก็จะยิ่งได้ค่าเบี้ยประกันภัยที่สูงขึ้น ดังนั้นการเลือกจำนวนเงินเอาประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล ควรที่จะต้องพอดีกับค่ารักษาพยาบาลที่เราได้วางแผนเอาไว้ ให้คิดว่ามันเป็นการวางแผนการเงินอย่างหนึ่ง แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าควรจะทำเงินประกันภัยสูงหรือต่ำให้ลองดูโรงพยาบาลที่เราเข้ารับการรักษาตัวครับว่าเงินที่ใช้สำหรับเข้ารับการรักษานั้นอยู่ที่เท่าไหร่โดนอาจจะเลือกเพิ่มขึ้นกว่าเดิมสักนิดนึง
ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล PA เป็นประกันภัยที่น่าสนใจมากในการทำให้กับตนเอง ด้วยเบี้ยประกันภัยที่ไม่แพงจนเกินไป เมื่อเปรียบเทียบกับความเสี่ยงที่เราจะต้องเผชิญอยู่ทุกวันแล้วก็น่าสนใจมากทีเดียว
แหล่งข้อมูลอ้างอิง ( reference )
http://www.oic.or.th/en/consumer/การประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล