แผนประกัน ipd opd คืออะไร เกี่ยวข้องกับ ประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุ อย่างไร

ประกัน ipd opd
เมื่อตอนที่เราทำประกันสุขภาพหรือไปโรงพยาบาลมักจะได้ยินบ่อย ๆ เกี่ยวกับ ประกันสุขภาพ opd ประกันสุขภาพ ipd ที่ใครหลายคนได้ยินแล้วก็มักจะไม่เข้าใจว่ามันคืออะไร
ถ้าใครไม่เข้าใจความหมายของทั้งสองคำนี้ก็ไม่แปลกอะไรครับ เดี๋ยวผมจะเล่าให้ฟัง
opd ipd เป็นรูปแบบของการทำประกันที่ใช้แยกคนที่เข้ารับการรักษา
ประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุ ipd opd
โดย opd คือ ผู้ป่วยใน ipd คือ ผู้ป่วยนอก ไม่ว่าจะเป็นประกันสุขภาพ หรือ ประกันอุบัติเหตุ
- สำหรับประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล pa จะมีความคุ้มครองทั้งในส่วนของ ipd และ opd โดยการทำประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล pa จะไม่มีส่วนของความคุ้มครองในส่วนของการเจ็บป่วย
IPD หรือ ผู้ป่วยในย่อมาจาก In Patient Department ที่ใช้เรียกผู้ที่มานอนรักษาตัวที่โรงพยาบาลอย่างน้อย 6 ชั่วโมง เช่น เหตุการณ์ป่วยบาดเจ็บใหญ่ที่ต้องแอดมิดที่โรงพยาบาล
OPD หรือ ผู้ป่วยนอกย่อมาจาก Out Patient Department จะใช้สำหรับบุคคลที่เข้ามารักษาตัวที่โรงพยาบาลแต่ไม่ต้องพักรักษาตัว เช่น อาการป่วย หรือ บาดเจ็บ เล็ก ๆ น้อย ๆ เข้ามาตรวจรักษาแล้วก็กลับบ้าน
ซึ่ง ประกันสุขภาพ opd มีคนที่สนใจเยอะมาก แต่การจะทำ opd ได้นั้นค่อนข้างติดปัญหาสักนิด ดังนี้
- ส่วนใหญ่จะได้หลังจากทำประกันแบบ ipd
- ราคาประกัน opd มีราคาเบี้ยประกันที่สูงอยู่พอสมควร
- รอบความคุ้มครองต่อปีน้อย
ทำประกันแบบ opd อย่างเดียวได้ไหม
คำตอบคือ ได้ แต่ว่าประกันสุขภาพ ง เดี่ยว นั้นหายากมาก ๆ ถึงมีราคาก็สูงแน่นอน
ตัวอย่าง ประกัน ipd opd
- เด็กชาย A ป่วยหนักเข้ารับการรักษาพยาบาลจำเป็นต้องแอดมิด 1 คืน ถ้าหากทำประกันแบบ ipd ก็สามารถเบิกได้ไม่ต้องห่วง
- เด็กหญิง B เกิดเวียนหัวเล็กน้อยไปหาหมอแต่ไม่อยากนอนโรงพยบาล ขอหมอกลับบ้าน ถือว่าเป็น ผู้ป่วยนอก ในกรณีแบบนี้จะต้องเบิกประกันแบบ opd
ถ้ากำลังตัดสินใจเลือกว่าจะทำประกัน opd หรือ ipd ดี ให้ลองพิจารณาตนเองดูก่อนครับว่าเหมาะสมกับแบบใด ไม่ค่อยป่วย ก็หาเฉพาะประกัน ipd สำหรับผู้ป่วยนอกอย่างเดียว ก็สามารถลดค่าใช้จ่ายไปได้เยอะครับ ในกรณีที่มีการเจ็บป่วยบ่อยครั้งก็ตัดสินใจทำประกันแบบ opd ควบคู่ไป