ประกันภัยบ้าน อัคคีภัย ภัยพิบัติ และ สินเชื่อ คืออะไร สำหรับประกันบ้านให้อุ่นใจ !

ประกันภัยบ้าน
ประกันภัยบ้าน แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ประกันอัคคีภัยบ้าน ประกันภัยพิบัติ ประกันสินเชื่อบ้าน นอกจากจะคุ้มครองทรัพย์สินภายในบ้านแล้วยังมีการประกันโครงสร้างบ้านด้วย
ซึ่งจะแตกต่างจากการประกันอย่างพวกคอนโดที่เป็นเจ้าของร่วม
หลายคนอาจจะยังไม่รู้ข้อมูลเกี่ยวกับประกันบ้าน เพราะข้อมูลที่เข้าใจยากตามเว็บไซต์ต่าง ๆ ผมจึงจะเขียนเรื่องเกี่ยวกับ ประกันบ้าน ให้เข้าใจง่ายที่สุดแบบภาษาบ้าน ๆ รับรองว่าเข้าใจ ประกันภัยบ้าน มากขึ้นแน่นอน
ทำไมต้องทำประกันภัยบ้าน
บ้านคืดจุดศูนย์รวมของครอบครัว เป็นที่พักเมื่อเราอ่อนล้าจากการทำงานหรือเรื่องแย่ ๆ ในบางเรื่อง หลายคนจึงอยากที่จะมีบ้านเป็นของตนเอง
เมื่อมีบ้านแล้วเราจะรู้ได้เลยว่าการจะมีบ้านสักหลังนึงเป็นเรื่องที่ยากมากและต้องมีความรับผิดชอบสูง
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของค่าใช้จ่ายหรือภาระการผ่อนบ้านที่ตามมาถือว่าเป็นการลงทุนในชีวิตที่สูงมาก
การดูแลรักษาทรัพย์สินของตนเองนั้นจึงเป็นสิ่งที่หลายคนมองเห็น แล้วเลือกที่จะใช้การคุ้มครองป้องกันทรัพย์สินที่ดีหนึ่งทางก็คือการเลือกทำประกันภัยบ้าน เพื่อป้องกันในสิ่งที่เราไม่คาดคิดว่าจะเกิดขึ้นได้
ประเภทประกันภัยบ้าน
ประกันภัยบ้าน มีหลัก ๆ ทั้งหมด 3 ประเภทนั้นคือ ประกันอัคคีภัยบ้าน ประกันภัยพิบัติ ประกันสินเชื่อบ้าน นอกเหนือจากนั้นอาจจะเป็นความคุ้มครองที่ซื้อเพิ่มเติมเข้าไป
ประกันอัคคีภัยบ้าน
ปัจจุบันเป็นประกันภัยที่ทางกฎหมายบังคับให้ทำสำหรับบ้านใหม่ คุ้มครองเฉพาะบ้านแต่ไม่รวมถึงที่ดิน ตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ ประกันภัยบ้าน ประเภทประกันอัคคีภัย
เช่น
- ไฟไหม้บ้าน
- ฟ้าผ่า
- แก๊สรั่วจากของที่ใช้ภายในบ้าน
ไม่รวมการระเบิดที่ทำให้มีสาเหตุมาจากแผ่นดินไหว
ประกันอัคคีภัยบ้าน เป็นประกันภัยที่มีอายุสั้น ต้องซื้อเป็นรายปีหรือทุก ๆ 2 ถึง 3 ปี เบี้ยประกันอัคคีภัยบ้านจะถูกหรือแพงอยู่ที่อายุของความคุ้มครอง ยิ่งระยะความคุ้มครองนานกว่าเบี้ยประกันก็จะต่ำกว่า โดยปกติค่าเบี้ยประกันสำหรับอัคคีภัยสำหรับบ้านเดี่ยวจะอยู่ที่ 0.1%
ประกันภัยพิบัติ
ประกันภัยบ้าน ประเภทนี้จะคุ้มครองบ้านจากภัยที่เกิดจากธรรมชาติต่าง ๆ เช่น แผ่นดินไหว พายุ น้ำท่วม และอื่น ๆ ที่อยู่ในเงื่อนไขของกรมธรรม์ โดยจะเลือกทำหรือไม่ทำก็ได้
สำหรับการประกันภัยพิบัติบ้านนั้นจะมีเงื่อนไขเยอะสักนิด ดังนี้
- ต้องมีการประกาศตามคำแนะนำของกระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
- แผ่นดินไหวต้องมีความรุนแรงมากกว่า 7 ริกเตอร์ขึ้นไปถ้าน้อยกว่าไม่อยู่ในเงื่อนไข
- พายุความเร็วลมเริ่มต้นตั้งแต่ 120 กิโลเมตร/ชั่วโมง
- ในกรณีน้ำท่วมถ้าบ้านของเพื่อน ๆ อยู่ในพื้นที่รองรับน้ำ กักเก็บน้ำ ทางน้ำผ่าน จะได้รับความคุ้มครองจากทางภาครัฐอยู่แล้ว
สำหรับ เบี้ยประกันภัยพิบัติสำหรับบ้านจะอยู่ที่ 0.5% ของราคาค่าบ้าน โดยจ่ายเป็นปี ๆ ไป
ประกันสินเชื่อบ้าน TMRA
ประกันภัยบ้านสำหรับผู้ขอสินเชื่อบ้าน คุ้มครองเมื่อผู้ทำประกันภัยบ้าน ไม่มีความสามารถผ่อนชำระค่าบ้านได้อีกต่อไป เช่น เสียชีวิต พิการจนทำงานไม่ได้ไม่มีเงินจ่ายหนี้สินค้าบ้านก่อนครบสัญญา โดยบริษัทประกันจะจ่ายหนี้ส่วนที่เหลือให้กับบริษัทประกันแทน
ข้อดีของการทำประกันภัยบ้าน ประเภทนี้ก็คือผู้ทำประกันไม่ทิ้งหนี้ค่าบ้านให้กับคนในบ้านหากเกิดเสียชีวิตหรือไม่มีความสามารถในการผ่อนต่อ
สำหรับข้อเสียก็คือค่าเบี้ยประกันสูงและต้องชำระเป็นเงินก้อน โดยปกติแล้วไม่เกิน 5.5% ถ้ายอดหนี้ลดลงเบี้ยประกันก็จะลดลงเรื่อย ๆ ถือว่าเป็นประกันภัยระยะยาวที่จ่ายเป็นครั้ง
ประกันภัยบ้าน สินเชื่อ TMRA กฎหมายบังคับไม ?
การประกันภัยบ้าน แบบสิ้นเชื่อ tmra นั้นทางรัฐบาลไม่บังคับให้ทำจะทำหรือไม่ทำก็ได้และไม่จำเป็นต้องทำกับสถาบันการเงินเพียงอย่างเดียว
แต่สามารถทำกับบริษัทประกันที่รองรับได้อีกด้วย ถ้าหากเจ้านั้นมีข้อเสนอที่ดีกว่า
มีอยู่หลายครั้งที่ทางธนาคารผู้ให้เงินสินเชื่อพูดเชิงว่าผู้ทำประกันจะต้องทำประกันสินเชื่อบ้าน tmra ด้วยนะเพื่อพวกเขาจะได้ประโยชรน์จากการประกันความเสี่ยงในส่วนของหนี้เสีย
บางครั้งก็อาจจะบอกว่าทำไว้เดี๊ยวลดดอกเบี้ยประกันให้บางละ กฎหมายบังคับบางละ
ในกรณีเจอใครบอกบังคับต้องทำนะมาเล่นลูกเล่นกับเราก็สามารถแจ้งไปได้ที่ คปภ. http://www.oic.or.th/th/home ให้เขาจัดการให้หรือจะโทร 1186 ก็ได้เช่นกัน
ประกันสินเชื่อบ้าน TMRA เหมาะกับใคร ?
หากเป็นคนที่เป็นแกนหลักของครอบครัวหรือมีรายได้น้อย
การที่ทำประกันภัยบ้านแบบ tmra จะมีประโยชน์มากสามารถป้องกันความเสี่ยงที่คนในครอบครัวจะต้องรับหนี้สินค่าเบี้ยต่อ ในกรณีอาจเกิดเหตุร้ายแรงขึ้น
สิ่งสำคัฐสำหรับการทำประกันภัยบ้าน TMRA ก็คืออย่าลืมดูว่าครอบคลุมหนี้สินทั้งหมดรึเปล่า ในกรณีถ้าเรามั่นใจว่าสามารถใช้หนี้สินค่าบ้านได้หมดก็ไม่จำเป็นต้องทำเพราะราคาค่าเบี้ยที่แพงพอสมควร
สรุปประกันภัยบ้าน
ประกันภัยบ้าน มีประเภทเดียวที่กฎหมายบังคับก็คือ ประกันอัคคีภัย ที่มีค่าเบี้ยประกันเพียงแค่ 0.1% เท่านั้น สำหรับ ประกันสินเชื่อบ้าน ประกันภัยพิบัติ นั้นจะทำหรือไม่ทำก็ได้
ถึงแม้จะเป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้ยากแต่ทำไว้ก็ช่วยให้อุ่นใจได้
เมื่อเกิดเหตุจริง ๆ กับตนเองก็จะช่วยลดความเสี่ยงที่ครอบครัวจะได้ภาระค่าเสียหายหากเราทำประกันภัยบ้าน